เครื่องเป่า
ครื่องเป่าที่มุษย์รู้จักใช้แต่เดิม ก็คงเป็นหลอดไม้ รวก ไม้ไผ่ เช่นเป่าเป็นสัญญาณในการล่าสัตว์ ต่อมาใช้เป่าเขาสัตว์ เช่นในภาษาบาลี เรียกว่า "สิงคะ" ภายหลังรู้จักเจาะรูและทำลิ้นให้เปลี่ยนเสียงได้ จึงนำมาเล่นเป็นทำนอง และใช้เป็นเครื่องดนตรีอีกพวกหนึ่ง เช่น
ขลุ่ย
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่ไม่มีลิ้น ทำด้วยไม้รวกที่มีปล้องยาวๆ ใช้ไฟย่างให้แห้งและตบแต่งเป็นลวดลาย นอกจากนั้นก็อาจใช้วัสดุอื่นๆ มาทำแทนก็ได้ เช่น ไม้จริง งา พลาสติก บนลำขลุ่ยด้านหน้าจะเจาะรูกลมๆ เรียงกันเป็นแถวทั้งหมด 7 รู เพื่อสำหรับใช้นิ้วปิดเปิดทำให้เปลี่ยนระดับเสียงได้ตามต้องการ ที่นิยมในปัจจุบัน มี 3 ชนิด คือ
ขลุ่ยหลิบ
ขลุ่ยหลิบ เป็น ขลุ่ยขนาดเล็กยาวประมาณ 36 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ขลุ่ยหลีบจะมีเสียงแหลมสูง เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในจำพวกเครื่องนำใช้ผสมอยู่ในวงเครื่องสายเครื่อง คู่ วงเครื่องสายปี่ชวา วงมโหรีเครื่องคู่ วงมโหรีเครื่องใหญ่
ขลุ่ยเพียงออ
เป็นขลุ่ยขนาดกลางมีเสียงมาตราฐานใช้เทียบเสียงดนตรีไทย ยาวประมาณ 45-48 เซนติเมตร
ขลุ่ยอู้
เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร
ปี่
เป็นเครื่องดนตรีไทยแท้ ๆ ทำด้วยไม้จริงเช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราวข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียกทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน 6 รู รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตรงกลางของเลาปี่ กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้เป็นจำนวน 14 คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ที่ทำด้วยใบตาลซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดให้กลมแล้วนำไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด เรียวยาวประมาณ 5 ซม. กำพวดนี้ทำด้วยทองเหลือง เงิน นาก หรือโลหะอย่างอื่นวิธีผูกเชือกเพื่อ ให้ใบตาลติดกับกำพวดนั้น ใช้วิธีผูกที่เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนของกำพวดที่จะต้องสอดเข้าไปเลาปี่นั้นเขาใช้ถักหรือเคียน ด้วยเส้นด้าย สอดเข้าไปในเลาปี่ให้พอมิดที่พันด้ายจะทำให้เกิดความ แน่นกระชับยิ่งขึ้น ปี่ของไทยจัดได้เป็น 3 ชนิดดังนี้
ปี่ใน
เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้นผสมอยู่ในวงปี่พาทย์มาแต่โบราณ ที่เรียกว่า"ปี่ใน" ก็เพราะว่า ปี่ชนิดนี้เทียบเสียงตรงกับระดับเสียงที่เรียกว่า"เสียงใน" ซึ่งเป็นระดับเสียงที่วงปี่พาทย ์ไม้แข็งบรรเลงเป็นพื้นฐาน
ปี่นอก
มีขนาดเล็กสุดใช้เป่าในวงปี่พาทย์ชาตรี ในการเล่นโนราห์ หนังตลุง และ ละครชาตรี ต่อมาได้เข้ามาบรรเลงผสมในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่และเครื่องใหญ่ โดยเป่าควบคู่ไปกับปีใน มีระดับเสียงสูงกว่าปีใน
ปี่ชวา
เป็นเครื่องเป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีลิ้น ซึ่งนำแบบอย่างมาจากชวา เข้าใจว่าเข้ามา เมืองไทยในคราวเดียวกับกลองแขก โดยเฉพาะในการเป่าเพลง ประกอบการรำ"กริซ" ในเพลง"สะระหม่า"ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น"๑"พบว่าปี่ชวาใช้เป่าร่วมกับ กลอง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคและสถลมาคร นอกจากนั้นยังพบเห็นปี่ชวาเป่า ประกอบการเล่นกระบี่-กระบอง และการชกมวย
หน้าแรก เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น