วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติ และ ผลงาน ของคีตกวีไทย

ประวัติ และ ผลงาน ของคีตกวีไทย


       คีตกวี เป็นคำศัพท์ทางดนตรีที่พบได้บ่อยครั้ง หมายถึง ผู้ประพันธ์ดนตรี มักจะใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรีบางประเภท โดยเฉพาะ ดนตรีคลาสสิก โดยที่ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยยกตัวอย่างมา 3 ท่าน ดังนี้

1.ครูมนตรี ตราโมท

        มนตรี ตราโมท มีนามเดิมว่า บุญธรรม เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443    เริ่มเรียนดนตรีปี่พาทย์ กับครูสมบุญ นักฆ้อง ต่อมาเรียนระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ แคลริเนต และหลักการแต่งเพลง กับครูสมบุญ สมสุวรรณ เรียนวิธีการแต่งเพลงกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสามศัพท์) และหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) และครูดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงหลายท่าน รวมทั้งเรียนโน้ตสากลกับพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) จนสามารถอ่านและเขียนได้เป็นอย่างดี 
 
        มนตรี ตราโมท รับราชการที่กรมพิณพาทย์หลวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้บรรเลงระนาดทุ้มประจำวงข้าหลวงเดิม ต่อมาย้ายไปสังกัดกรมศิลปากร จนเกษียณอายุ  และยังคงปฏิบัติราชการในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยจนถึงแก่อนิจกรรม

     มนตรี ตราโมท  มีฝีมือทางการบรรเลงเครื่งดนตรีไทยได้หลายชนิด ที่ได้รับยกย่องพิเศษ คือ ระนาดทุ้ม ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ประเภทเพลง 3 ชั้นเช่น เพลงต้อยตลิ่ง (แต่งร่วมกับหมื่นประคมเพลงประสาน) เพลงเทพไสยาสน์ เพลงจะเข้หางยาว ฯลฯ  แต่งตำราทางวิชาการดนตรีไทยไว้ เช่น ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ ศัพท์สังคีต ประวัติบทเพลงต่างๆ และบทความทางประวัติการดนตรีไทยจำนวนมาก  นอกจากนั้น ยังได้สอนดนตรีและเป็นผู้บรรยายพิเศษแก่สถาบันต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และมหาวิทยาลัยศิลปากร

     ครูมนตรี ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2523 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ.2524 และมหาวิทยาลัยศณีนครินทรวิโรฒ เมื่อพ.ศ.2526  ครูมนตรีได้รับพระราชทานโล่ห์เกียรติยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักดนตรีตัวอย่าง เมื่อพ.ศ.2524 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตนักศิลปกรรม ประเภทวิจิตรศลป์ สาขาดุริยางคศิลป์ เมื่อพ.ศ. 2524 และได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย ประจำปีพ.ศ.2528



2.ครูบุญยงค์ เกตุคง

     ครูบุญยงค์ เป็นบุตรชายคนโตของนายเที่ยงและนางเขียน เกตุคง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4ปีวอก พ.ศ.2463 ที่ตำบลวัดสิงห์เป็นหลานปู่หลานย่าของนายใจและนางเพียร ชาวสวนตำบลดาวคนอง เป็นหลานตาหลานยายของนายเปี่ยมและนางภู่ ศรีประเสริฐ ตากับยายและแม่เป็นคนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีน้องชาย 2 คนชื่อบุญยังและทองอยู่ มีน้องสาว 1 คนชื่อเบญจางค์ น้องชายที่ชื่อบุญยังเป็นนักดนตรีฝีมือดี ครูมีภรรยาซึ่งเป็นน้องสาวครูชื้น ดุริยประณีตแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน
 
     ครูได้ศึกษาดนตรีกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายท่านเช่น ครูหรั่ง พุ่มทองสุข ครูประสิทธิ์ เกตุคง ครูเพชร จรรย์นาค ครูสอน วงฆ้อง ครูเทวาประสิทธิ์   พาทยโกศล ครูพุ่ม บาปุยะวาส เป็นต้น จนมีความสามารถในการบรรเลงปี่พาทย์ได้ทุกประเภท ทั้งประกอบการแสดงโขน ละคร ลิเก จนถึงการประชันวงปี่พาทย์   นอกจากนั้นครูได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น “ระนาดเทวดา” เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกัน

     ประวัติการทำงาน ครูได้เข้ารับราชการในกรมประชาสัมพันธ์ประมาณ 5 – 6 ปี จากนั้นเข้าเป็นนักดนตรีประจำอยู่ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหมอยู่ประมาณ 5 ปี จากนั้นเข้าเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีไทยของสำนักงานกรุงเทพมหานคร จนเกษียณอายุเมื่อ ปีพ.ศ.2525

     ผลงานทางด้านการแต่งเพลงของครูมีมากหลายเพลงอาทิ โหมโรงสามสถาบัน โหมโรงจุฬามณี โหมโรงสามจีน เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงเริงพลเถา เพลงศรีธรรมราชเถา เพลงชเวดากองเถา เพลงพิรุณสร่างฟ้าเถา เพลงเพชรน้อยเถา เป็นต้น และยังแต่งทางเดี่ยวสำหรับเพลงต่างๆและเครื่องดนตรีต่างๆอีกเป็นอันมาก   ผลงานการแต่งเพลงของครูในระยะหลัง มีชื่อเสียงแพร่หลายไปถึงต่างประเทศคือไปร่วมงานกับนายบรู๊ซ แกสตัน นักดนตรีชาวเยอรมันจัดทำเพลงชุด “เจ้าพระยาคอนแชร์โต้”บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไทยผสมเครื่องดนตรีฝรั่งเป็น ที่นิยมชมชอบกันโดยทั่วไป นอกจากนั้นท่านยังได้รับการยอมรับนับถือจาก เซอร์ ไซมอน แรทเทิล (Sir Simon Rattle [1955]) วาทยากรชาวอังกฤษ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งวาทยากรหลักของวงเบอร์ลินฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตรา) ในฐานะครูผู้ใหญ่อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า ครูบุญยงค์ เกตุคงเป็นอัจฉริยบุคคลทางดนตรีของไทยอีกผู้หนึ่งซึ่งยากจะหาผู้ใดเสมอ เหมือน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 ครูได้เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)ประจำปี 2531 นับเป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งในชีวิตที่ครูได้รับ
     
       ครูบุญยงค์ เกตุคง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2539 สิริรวมอายุได้ 76 ปี


3.ยืนยง โอภากุล
  
     ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว   เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ตำบลท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี    เริ่มต้นการศึกษาในระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ   ศึกษาต่อระดับ อุดมศึกษาที่อุเทนถวาย และบินไปเรียนต่อระดับปริญญาที่ ประเทศฟิลิปปินส์ สมัยเรียนร่วมก่อตั้งวงคาราบาวกับกิรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร หรือ เขียว คาราบาวเพื่อนสมัยเรียนที่ฟิลิปปินส์ หลังจากจบการศึกษา ได้เข้าทำงานในตำแหน่งสถาปนิกที่การเคหะแห่งชาติ เป็นเวลา 5 ปี และเล่นดนตรีกลางคืน
 
     ในปี พ.ศ. 2524 แอ๊ดทำอัลบั้มชุดแรกขึ้นในนามวงคาราบาว ใช้ชื่อชุดว่า “ขี้เมา” ปัจจุบันคาราบาวมีผลงานเพลงมากกว่า 90 อัลบั้ม ไม่ว่าจะเป็นผลงานภาคปกติ ภาคพิเศษ ภาคแสดงสด ของคาราบาว 

     บทเพลงของคาราบาวมีหลากหลาย แต่ละบทเพลงล้วนแล้วแต่มีความหมายเป็นเรื่องราวบอกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ยุคสมัยนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบทเพลงที่ทำให้คาราบาวประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยเพลงเมดอินไทย แลนด์ ที่ให้คนไทยกลับมานิยมใช้สินค้าของไทย เป็นอัลบั้มที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ แอ๊ดคาราบาว ได้นำปรัชญา ศาสนา มาถ่ายทอดเป็นบทเพลง   ทำให้บทเพลงของคาราบาวเป็นบทเพลงที่ควรแก่การจดจำ ฟังติดหู และบางเพลงเป็นเพลงอมตะ ที่ร้องกันมาจนถึงปัจจุบันนี้





แบบทดสอบเรื่อง ประวัติ และ ผลงาน ของคีตกวีไทย

วงมโหรี

 3.วงมโหรี

          ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่

3.1 มโหรีเครื่องเล็ก หรือ มโหรีเครื่องเดี่ยว
            เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในระยะแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ ในระยะหลังได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ เปลี่ยนกระจับปี่เป็นจะเข้


3.2 วงมโหรีเครื่องคู่

                  เหมือนกับวงมโหรีเครื่องเล็ก แต่ได้เพิ่มระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ขลุ่ยหลิบ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และซอสามสายหลิบอย่างละหนึ่ง


3.3 วงมโหรีเครื่องสี่


         เกิดจากการการประสมกันระหว่างการบรรเลงพิณและการขับไม้ ปรากฏครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชนิดดังนี้
  • โทน
  • ซอสามสาย
  • กระจับปี่
  • กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตี)

3.4 วงมโหรีเครื่องหก

           ลักษณะคล้ายวงมโหรีเครื่องสี่ แต่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองอย่างคือ รำมะนาและขลุ่ยเพียงออ

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

วงเครื่องสาย

2. วงเครื่องสาย

            เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา


2.1วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว

              วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว เป็นวงดนตรีไทยประเภทเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้บรรเลงในอาคารหรือบริเวณที่มีสถานที่จำกัด มีเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงดังนี้
  1. ซอด้วง
  2. จะเข้
  3. ซออู้
  4. ขลุ่ยเพียงออ
  5. ฉิ่ง
  6. โทน-รำมะนา

2.2  วงเครื่องสายเครื่องคู่
วงเครื่องสายเครื่องคู่ประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มจำนวนของเครื่องดนตรีประเภททำทำนองจากเครื่องมือละหนึ่งเครื่องเป็นสองเครื่องหรือเป็นคู่ ดังต่อไปนี้

จะเข้  ๒  ตัว
ซอด้วง    คัน
ซออู้    คัน
ขลุ่ยเพียงออ  ๑ เลา
ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา    
ฉิ่ง ๑ คู่    
ฉาบ ๑ คู่    
กรับ ๑ คู่    
โหม่ง ๑ ใบ    
โทน-รำมะนา ๑ คู่








2.3 วงเครื่องสายปี่ชวา





เกิดจากวงเครื่องสายประสมกับวงกลองแขก เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะของวงเครื่องสายปี่ชวามีดังนี้
  • เครื่องดนตรีทุกชิ้นจะตั้งเสียงให้เท่ากับเสียงปี่ชวา
  • ใช้กลองแขกแทนโทนและรำมะนา
  • ใช้ขลุ่ยหลิบแทนขลุ่ยเพียงออ
การบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีต้องมีไหวพริบปฏิภาณดี โดยเฉพาะคนตีฉิ่งต้องมีสมาธิดีที่สุด จึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ ในปัจจุบันหาดูได้ยากมาก




  
2.4 วงเครื่องสายผสม






   เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างที่สังกัดในวงเครื่องสายไทย เพียงแต่เพิ่มเอาเ ครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก ็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย เช่น ไวโอลิน ออร์แกน ขิม หีบเพลงชัก เปียโน ระนาด แคน (หรือแม้แต่ซอสามสายอันเป็นเครื่อ งสีก็ตาม) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีที่นำมาผสมนั้นต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเสียงด้วยว่ามีความ กลมกลืนมาก น้อยเพียงใด




 








วงปี่พาทย์

1.วงปี่พาทย์
            
            วงที่มีเครื่องตีเป็นหลักสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าคือ ปี่ในเป็นประธานของวง (สมชื่อ) นอกนั้นเป็นเครื่องกำกับจังหวะฆ้องวงใหญ่ทำหน้าที่บรรเลงทำนองหลักของเพลง (เหมือนเป็นเบสคุมวง)ในขณะที่เครื่องดนตรีอื่น จะเล่นแปรทำนองไปตามทางเฉพาะของเครื่องนั้นๆนักดนตรีไทยนิยมนำวงปี่พาทย์ไป เล่นในงานประเพณี หรืองานบุญและงานเทศกาลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ โกนจุก ทำบุญวันเกิด ไม่ก็บรรเลงประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ เช่น โขน ลิเก ละคร  เรายังสามารถแยกประเภทของวงปี่พาทย์ ย่อยลงไปได้อีกถึง 6 ประเภทด้วยกัน คือ


1.1  วงปี่พาทย์ชาตรี 

            ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรี วงปี่พาทย์ชาตรี ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "วงปี่พาทย์เครื่องห้า ชนิดเบา" เพราะประกอบด้วยเครื่องดนตรี 5 ชิ้น (ที่มีน้ำหนักเบา) คือ ปี่นอก โทน กลองชาตรี ฆ้อง และฉิ่ง



1.2  วงปี่พาทย์ไม้แข็ง

           ป็นวงมาตรฐานที่ได้รับความนิยมสูงสุด นักดนตรีจะเลือกใช้ไม้ตีชนิดแข็งตามชื่อวง
เพลงที่ได้จึงมีเสียงดังและหนักแน่น เหมาะกับงานรื่นเริง
และเพื่อให้เหมาะกับลักษณะงานยิ่งขึ้น
วงปี่พาทย์ไม้แข็งจึงแยกย่อยได้อีกตามขนาดของวง 3 ขนาด คือ

      - วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า : ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง


      - วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ : เพิ่มจากขนาดวงเครื่องห้า ด้วย ปี่นอก ระนาดทุ้ม และฆ้องวงเล็ก (ให้สังเกตคำว่า "เครื่องคู่" นะ คำนี้จะทำให้เรารู้ว่าวงนี้จะต้องมีเครื่องดนตรีที่เป็นคู่กันเช่น ระนาดเอก-ระนาดทุ้ม, ฆ้องวงใหญ่-ฆ้องวงเล็ก, ปี่นอก-ปี่ใน )


      - วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ : มีระนาดเหล็กทั้งเอก และทุ้ม เพิ่มเติมจากวงเครื่องคู่
(เครื่องประกอบจังหวะอาจใช้กลองแขกตีเฉพาะบางเพลง หรือในเวลาขับร้อง ถ้าประกอบเสภาใช้สองหน้าแทนตะโพน และกลองทัด) 



1.3  วงปี่พาทย์ไม้นวม

            วงประเภทนี้เกิดขึ้นเพราะความต้องการให้วงปี่พาทย์มีเสียงที่ไม่ดังเกินไป โดยเปลี่ยนจากไม้แข็งที่ใช้ตีระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่เป็นไม้นวม และเปลี่ยนเครื่องเป่าจากปี่เป็นขลุ่ยเพียงออแทน และอาจเพิ่มซออู้เข้าไปด้วย เพื่อให้เสียงเพลงเบาและนุ่มนวลขึ้น วงปี่พาทย์ไม้นวมก็มีการแบ่งย่อยเป็น 3 ขนาดเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง


1.4   วงปี่พาทย์นางหงส์

           คล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเพียงแต่ปรับเปลี่ยนเอาปี่ชวามาเล่นแทนปี่ใน และปี่นอก และเปลี่ยนกลองทัดกับตะโพนเป็นกลองมลายู 1 คู่



1.5  วงปี่พาทย์มอญ
           เดิมที วงประเภทนี้นิยมเล่นกันเฉพาะในหมู่ชาวไทยรามัญ ทั้งงานมงคลและอวมงคลทั่วไป แต่ปัจจุบันนิยมเล่นแต่ในงานศพ วงปี่พาทย์มอญนี่สังเกตง่ายมาก  เพราะจะมีเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเด่นอย่าง เปิงมางคอก  ฆ้องมอญ (แบบวงกลมหงายขึ้นบน) ปี่มอญ และตะโพนมอญ (มีการแบ่งขนาดเช่นเดียวกันกับปี่พาทย์ไม้แข็ง)

 

1.6  วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

         เป็นวงที่ใช้บรรเลงประกอบละครดึกดำบรรพ์ในอดีต  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ได้ทรงปรับปรุงขึ้น เครื่องดนตรีในวงจะคัดเฉพาะที่มีเสียงทุ้มต่ำ นุ่มนวล คล้ายกับวงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ มีเครื่องดนตรีที่ต่างออกไป เช่น ขลุ่ยอู้ และฆ้องหุ่ย 



ประเภทวงดนตรีไทย

ประเภทวงดนตรีไทย

            ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ

1.วงปี่พาทย์


 

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

อ้างอิง

       ต้องขอขอบพระคุณ ผู้จัดทำเว็บต่างๆ มีที่รายชื่อดังด้านล่างนี้ ที่ให้ใช้ข้อมูล มาเพื่อทำ Blog นี้



        http://www.school.net.th/library/create-web/10000/arts/10000-4303.html

         http://www.xn--42cg3bekk9dce9g7dra8iwc9b.com/coler.html

         http://www.dusit.ac.th/department/music/music/thai/see.pdf

         http://www.adirek.com/stwork/Thai%20Music/percussion%20instrument.htm

         http://www.dusit.ac.th/department/music/music/thai/tee_mai.pdf

         http://gotoknow.org/blog/yong2520/168041

       http://www.adirek.com/stwork/Thai%20Music/wind%20instrument.htm

        http://www.thaigoodview.com/node/10475

         http://p-i-e.exteen.com/20071022/entry-1
^^

เครื่องเป่า

เครื่องเป่า

         ครื่องเป่าที่มุษย์รู้จักใช้แต่เดิม ก็คงเป็นหลอดไม้ รวก ไม้ไผ่ เช่นเป่าเป็นสัญญาณในการล่าสัตว์ ต่อมาใช้เป่าเขาสัตว์ เช่นในภาษาบาลี เรียกว่า "สิงคะ" ภายหลังรู้จักเจาะรูและทำลิ้นให้เปลี่ยนเสียงได้ จึงนำมาเล่นเป็นทำนอง และใช้เป็นเครื่องดนตรีอีกพวกหนึ่ง เช่น

ขลุ่ย

          เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่ไม่มีลิ้น ทำด้วยไม้รวกที่มีปล้องยาวๆ ใช้ไฟย่างให้แห้งและตบแต่งเป็นลวดลาย นอกจากนั้นก็อาจใช้วัสดุอื่นๆ มาทำแทนก็ได้ เช่น ไม้จริง งา พลาสติก  บนลำขลุ่ยด้านหน้าจะเจาะรูกลมๆ เรียงกันเป็นแถวทั้งหมด 7 รู เพื่อสำหรับใช้นิ้วปิดเปิดทำให้เปลี่ยนระดับเสียงได้ตามต้องการ ที่นิยมในปัจจุบัน มี 3 ชนิด คือ

         ขลุ่ยหลิบ

         ขลุ่ยหลิบ เป็น ขลุ่ยขนาดเล็กยาวประมาณ 36 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ขลุ่ยหลีบจะมีเสียงแหลมสูง เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในจำพวกเครื่องนำใช้ผสมอยู่ในวงเครื่องสายเครื่อง คู่ วงเครื่องสายปี่ชวา วงมโหรีเครื่องคู่ วงมโหรีเครื่องใหญ่


           ขลุ่ยเพียงออ

            เป็นขลุ่ยขนาดกลางมีเสียงมาตราฐานใช้เทียบเสียงดนตรีไทย ยาวประมาณ 45-48 เซนติเมตร

           ขลุ่ยอู้ 

           เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร


ปี่

         เป็นเครื่องดนตรีไทยแท้ ๆ ทำด้วยไม้จริงเช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราวข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียกทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน 6 รู รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตรงกลางของเลาปี่ กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้เป็นจำนวน 14 คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ที่ทำด้วยใบตาลซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดให้กลมแล้วนำไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด เรียวยาวประมาณ 5 ซม. กำพวดนี้ทำด้วยทองเหลือง เงิน นาก หรือโลหะอย่างอื่นวิธีผูกเชือกเพื่อ ให้ใบตาลติดกับกำพวดนั้น ใช้วิธีผูกที่เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนของกำพวดที่จะต้องสอดเข้าไปเลาปี่นั้นเขาใช้ถักหรือเคียน ด้วยเส้นด้าย สอดเข้าไปในเลาปี่ให้พอมิดที่พันด้ายจะทำให้เกิดความ แน่นกระชับยิ่งขึ้น  ปี่ของไทยจัดได้เป็น 3 ชนิดดังนี้

             ปี่ใน 

           เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้นผสมอยู่ในวงปี่พาทย์มาแต่โบราณ ที่เรียกว่า"ปี่ใน" ก็เพราะว่า ปี่ชนิดนี้เทียบเสียงตรงกับระดับเสียงที่เรียกว่า"เสียงใน" ซึ่งเป็นระดับเสียงที่วงปี่พาทย ์ไม้แข็งบรรเลงเป็นพื้นฐาน


          ปี่นอก 

           มีขนาดเล็กสุดใช้เป่าในวงปี่พาทย์ชาตรี ในการเล่นโนราห์ หนังตลุง และ ละครชาตรี ต่อมาได้เข้ามาบรรเลงผสมในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่และเครื่องใหญ่ โดยเป่าควบคู่ไปกับปีใน มีระดับเสียงสูงกว่าปีใน  

             ปี่ชวา 

             เป็นเครื่องเป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีลิ้น ซึ่งนำแบบอย่างมาจากชวา เข้าใจว่าเข้ามา เมืองไทยในคราวเดียวกับกลองแขก โดยเฉพาะในการเป่าเพลง ประกอบการรำ"กริซ" ในเพลง"สะระหม่า"ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น"๑"พบว่าปี่ชวาใช้เป่าร่วมกับ กลอง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคและสถลมาคร นอกจากนั้นยังพบเห็นปี่ชวาเป่า ประกอบการเล่นกระบี่-กระบอง และการชกมวย  

  
หน้าแรก      เครื่องดีด      เครื่องสี        เครื่องตี 

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องตี

เครื่องตี

          เป็นประเภทที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักใช้และเครื่องดนตรีของไทยก็เช่น เดียวกัน โดยทั่วไปเครืองตีเป็นเครื่องเก่าแก่ของไทย แต่ก้ได้แก้ไขปรับปรุงให้วิวัฒนาการมาโดยลำดับเครื่องตีที่ใช้ในวงดนตรีไทย แบ่งออกเป็น 3 จำพวก คือ

เครื่องตีทำด้วยไม้

          เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยไม้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 7 ชิ้น ดังนี้

ระนาดเอก

          ระนาดเอก  เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ ประเภทดำเนินทำนอง   มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกว่าเกิดขึ้นเมื่อสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา บรรเลงผสมในวงปี่พาทย์เครื่องห้า  เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ตามลำดับ     มีหน้าที่เป็นผู้นำวง  ตีเก็บ  ตีกรอเป็นพื้นฐาน   ตีรัวในแบบต่างๆในบางโอกาส เดิมเรียกว่า " ระนาด "     ต่อเมื่อภายหลังมีระนาดทุ้มเกิดขึ้น     จึงเรียกระนาดชนิดนี้ว่า " ระนาดเอก "


ระนาดทุ้ม

         
             ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ย รองไว้ 4 มุมราง  หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ทำหน้าที่เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยน ล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม


 เกราะ

             เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยไม้ไผ่ เดิมเป็นเครื่องตีสำหรับขานยาม ไม่ปรากฏว่านำมาใช้ร่วมในวงการดนตรี แต่ในการเล่นโขนละครตอนพักทัพที่อยู่เวรยาม  และตอนที่หัวหน้าหมู่บ้านใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาบอกเหตุอันตราย หรือตีเพื่อนัดหมายชุมนุมลูกบ้าน


 โกร่ง

               เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้ไผ่  เช่นเดียวกับเกราะ   แต่ยาวกว่า      ตั้งอยู่บนขา 2 ขา  เคยเห็นใช้ตีตามชนบท ในฤดูการงานสงกราณต์ เด็กๆและหนุ่มสาวใช้ตีประกอบการร้องที่เรียกว่า " ร่ำ " คือการตีควบไปกับการร้องในการเชิญทรงเจ้าเข้าผี และรำแม่ศรี เป็นต้น   ที่ใช้ในวงการดนตรีก็คือ  การตีร่วมกับการแสดงหนังใหญ่ และโขนละคร   โดยเฉพาะในการบรรเลงเพลงกราวตรวจพล  แต่ในการแสดงโขน ของกรมศิลปากร จะใช้โกร่งร่วมตีในวงปี่พาทย์ในการแสดงโขนกลางแจ้ง  ถ้าเป็นการแสดงภายในจะไม่ใช้เพราะเสียงดังเกินไป   


 กรับคู่

           ทำด้วยไม้ไผ่ซีก 2 อันเหลาให้เรียบและเกลี้ยง  หนาตามขนาดของเนื้อไม้  หัวและท้ายกว่าใหญ่ลดหลั่นกันเล็กน้อย  ตีด้วยมือทั้งสองข้าง  โดยจับข้างละอัน ให้ด้านที่เป็นผิวไม้กระทบกัน ตีลงบริเวณใกล้กับตอนหัว   มีเสียงดัง กรับ กรับ  โดยมากจะใช้ตีกำกับจังหวะในวง ปี่พาทย์ชาตรี ประกอบการแสดงละครชาตรี โดยเฉพาะ   ในเพลงร่ายต่างๆ   ในวงกลางยาวก็นิยมใช้กรับคู่ไปตีกำกับจังหวะหนัก ที่เรียกว่ากรับคู่คงเป็นเพราะมีเป็นคู่ 2 อัน บางทีก็เรียกว่า " กรับไม้ "

  
กลับพวง

           เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้  ผสมโลหะ  ร้อยเชือกติดกันเป็นพวง ทั้งไม้และโลหะทำเป็นแผ่นบางๆสลับกัน โดยชิ้นนอกสุด 2 ชิ้น  จะเหลาหนา หัว และท้ายงอนโค้งงอน ด้านจับเล็ก ตอนปลายใหญ่ ร้อย เชือกทางด้านปลาย ให้หลวมพอประมาณ    เวลาตีมือหนึ่งจะจับกัมตอนปลาย ให้หัวตีลงบนมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งจะมีเสียงไม้กับโลหะกระทบกัน      เดิมใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาณ เช่นในการเสด็จออกท้องพระโรงของพระเจ้าแผ่นดิน   ที่เรียกว่า  " รัวกรับ "   โดยเฉพาะในเรือสุพรรณหงส์   พระราชพิธีทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค  เจ้าพนักงานจะรัวกรับ  เพื่อบอกฝีผายทำความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และออกเรือ


 กรับเสภา

             เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะอีกชนิดหนึ่ง  ที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง โดยเฉพาะไม้ชิงชัน เหลาให้เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนลบเหลี่ยมเล็กน้อย  เพื่อไม่ให้บาดมือและสามารถกลิ้งตัวของมันเอง    กลอกกระทบกันได้สะดวก ด้านล่างนูนโค้งเล็กน้อย  เดิมใช้ขยับตีในการขับเสภา ดังที่เรียกว่า " ขยับกรับขับเสภา "     ซึ่งผู้ขับ เสภาจะเป็นผู้ขยับเอง  โดยใช้กรับ 2 คู่    ขยับคู่ละมือ  ขับเสภาไปพลาง   ขยับกรับสอดแทรกไปกับทำนองขับ   ซึ่งมีวิธีการขยับกรับได้หลายวิธี   อันถือเป็นศิลปชั้นสูงอย่างหนึ่งในการขยับกรับขับเสภา  ซึ่งนิยมเล่นกันมากในสมัยโบราณ


เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ

             เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะนั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชิ้น ดังนี้

ฆ้อง

            ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชันทำด้วยโลหะที่มีหลายรูปแบบ คำว่าฆ้องนั้นมีที่ว่าจากภาษาชวา ปรากฏการใช้ฆ้องในหลายชาติในทวีปเอเชีย เช่น จีน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปัจจุบันฆ้องเข้าไปมีส่วนในดนตรีตะวันตกด้วยเช่นกัน  ฆ้องมีอยู่ 6 ชนิด ดังนี้

    ฆ้องวงใหญ่
             เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากฆ้องรางของอินโดนีเซีย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนประกอบของฆ้องวงใหญ่ประกอบด้วยลูกฆ้องและวงฆ้อง ลูกฆ้องมี 16 ลูกทำจากทองเหลือง เรียงจากลูกเล็กด้านขวา วงฆ้องสูงประมาณ 24 เซนติเมตร ใช้หวายโป่งทำเป็นราง ให้หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกัน 14-17 เซนติเมตร ใช้หวาย 4 อัน ด้านล่าง 2 อันขดเป็นวงขนานกัน เว้นที่ไว้ให้นักดนตรีเข้าไปบรรเลง  ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุด เพราะคนที่จะเล่นดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องมาเรียนฆ้องวงใหญ่ก่อน ฆ้องวงใหญ่ทำหน้าที่เดินทำนองหลัก ซึ่งถือเป็นแม่บทของเพลง  ฆ้องวงใหญ่ใช้เล่นในวงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี

       
    ฆ้องวงเล็ก

             ฆ้องวงเล็กเป็นเครื่องดนตรีไทยสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 มีลักษณะเหมือนกับฆ้องวงใหญ่ แต่ลูกฆ้องมีขนาดเล็กกว่า มีลูกฆ้อง 18 ลูก บรรเลงทำนองคล้ายระนาดเอก แต่ตีเก็บถี่กว่าระนาดเอก
ฆ้องวงเล็กใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี


    ฆ้องมอญ

              ฆ้องมอญเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญมี ลักษณะตั้งโค้งขึ้นไป ไม่ตั้งราบกับพื้นแบบฆ้องไทย วงฆ้องทำจากไม้แกะสลักปิดทองอย่างสวยงาม ทางโค้งด้านซ้ายของผู้ตีแกะเป็นรูปต่างๆตามต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรูปเทวดา ทางโค้งด้านขวาทำเป็นรูปปลายหาง มีเท้ารองตรงกลางเหมือนระนาดเอก ฆ้องมอญมีลูกฆ้อง 15 ลูก แต่ฆ้องมอญจะไม่เรียงเสียงเหมือนฆ้องไทย ในบางช่วงมีการข้ามเสียง เรียกเสียงที่ข้ามว่า"หลุม"  ฆ้องมอญทำหน้าที่เดินทำนองเพลงเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ของไทย ฆ้องมอญมี 2 ขนาดเหมือนกับฆ้องไทยคือ ฆ้องมอญใหญ่และฆ้องมอญเล็ก  ฆ้องมอญใช้เล่นในวงปี่พาทย์มอญ


    ฆ้องโหม่ง

             มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอก 'โมง' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอก 'ทุ่ม'.

     ฆ้องคู่

             ใช้กำกับจังหวะ โยชุดหนึ่งจะมีสองลูก ลูกใหญ่ให้เสียงต่ำ ลูกเล็กให้เสียงสูง ไม้ตีทำด้วย แผ่นหนังวัว หรือหนังควายตัดเป็นวงกลม เจาะรูตรงกลางไ่ก้านไม้



    ฆ้องราว

             ฆ้อง ๓ ใบ มีขนาดลดหลั่นกัน ใช้แขวนราวเรียงไปตามขนาด เมื่อตีเรียงไปตามลำดับลูกแล้วย้อนกลับจะได้ยินเป็นเสียง "โหม่ง-โมง-โม้ง,โม้ง-โมง-โหม่ง" แต่แรกจะคิดสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการใดหาทราบไม่ แต่ตามที่ปรากฎต่อมาใช้บรรเลงในการเล่นมหรสพโบราณชนิดหนึ่งเรียกว่า "ระเบง" หรือเรียกตามคำร้องของกลอนซึ่งขึ้นต้นวรรคด้วยคำว่า "โอละพ่อ" เลยเรียกฆ้องราว ๓ ใบ ชนิดนี้ว่า "ฆ้องระเบง" ติดมาแม้การเล่น "ระเบง" หรือ "โอละพ่อ" ในงานพระราชพิธีจะได้ว่างเว้นมาเป็นเวลานาน จนอนุชนรุ่นนี้ไม่ค่อยรู้จักกันอยู่แล้วแต่ในวงการดนตรีไทยยังรู้จัก "ฆ้องระเบง"ดีอยู่

ฉิ่ง

          ฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุด มี 2 ฝา ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี  เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง ฉิ่ง แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง ฉับ ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง


ฉาบ

             ฉาบเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำด้วยโลหะคล้ายฉิ่ง แต่หล่อให้บางกว่า ฉาบมี 2 ชนิดคือฉาบเล็ก และ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็กมีขนาด ที่วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 –14 ซม ส่วนฉาบใหญ่มีขนาดที่วัดผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 24 –26 ซม เวลาบรรเลงใช้ 2 ฝามาตีกระทบกันให้เกิดเสียงตามจังหวะ เมื่อฉาบทั้งสองข้างกระทบกันขณะตีประกบกันก็ จะเกิดเสียง ฉาบ แต่ถ้าตีแล้วเปิดเสียงก็จะได้ยินเป็น แฉ่ง แฉ่ง แฉ่ง เป็นต้น





เครื่องสี

เครื่องสี

          เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทย ฯลฯ เป็นเครื่องสายที่ทำให้ เกิด เสียง ด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า

ซอ

ซึ่งมีอยู่ ๓ ชนิด ด้วยกันคือ ซอด้วง ซออู้  ซอสามสาย


 ซอด้วง

            เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลมการที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วน ที่เป็นเครื่อง อุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ด้วง ประกอบด้วย กระบอก คันซอ ลูกบิด รัดอก หย่อง คันชัก



ซอสามสาย

             ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวลรูปร่างวิจิตรสวยงาม กว่าซอ ชนิดอื่น ถือเป็น เครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก ประกอบด้วย กะโหลก คันซอ ลูกบิด รัดอก หย่อง ถ่วงหน้า หนวดพรามณ์ คันชัก


ซออู้

              เป็นเครื่องดนตรีที่ชนชาติจีนเล่นมาก่อน มารวมเล่นเป็นวงเครื่องสายในระยะเดียวกับซอด้วง มีหน้าที่สีดำเนินทำนองเพลงในลักษณะหยอกยั่วเย้าไปกับผู้ทำทำนองเพลงบาง ครั้งใช้สีคลอไปกับร้อง ด้วยภายหลังเมื่อมีวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์และวงปี่พาทย์ไม้นวม จึงได้นำซออู้เข้ามาบรรเลงร่วมด้วย ประกอบด้วย กะโหลก คันซอ ลูกบิด รัดอก หมอน คันชัก






เครื่องดีด

เครื่องดีด

          เป็นเครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทำนองเพลงเครื่องดนตรีที่เกิดเสียงด้วยการใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น เราจะรวมเรียกว่าเครื่องดีด

เครื่องดีดที่นิยมคือ

กระจับปี่ เป็น เครื่องดนตรีเก่าแก่ประเภทเครื่องดีด มีหลักฐานว่าเล่นกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กล่องเสียงทำด้วยไม้ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า มีคันทวนค่อนข้างยาวปลายด้านบนงอนโค้ง มีสายสำหรับดีด ๔ สายทำด้วยไหม สายที่ ๑ กับสายที่ ๒ เทียบเสียงเท่ากันคู่หนึ่ง และสายที่ ๓ กับสายที่ ๔ เทียบเสียงเท่ากันอีกคู่หนึ่ง มีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวน 


จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี ๓ สาย แต่เดิมเป็นสายไหมสองสายและสายลวดหนึ่งสาย แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายเอ็นแทนสายไหม ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน นิยมใช้ไม้ขนุน ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ข้างล่าง มีนมติดอยู่ ทางด้านบนของตัวจะเข้ ๑๑ นม เนื่องจากเป็นเครื่องดีดที่มีขนาดใหญ่เวลาดีดจึงวางราบกับพื้นไม่ยกขึ้นดีด อย่างพิณชนิดอื่นๆ บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี
 

ซึง เป็นเครื่องดีดของทางภาค เหนือ คล้ายกับกระจับปี่ แต่ต่างกันที่ปลายทวนด้านบนไม่ยาว งอนโค้งเหมือนกระจับปี่ มีหลายขนาด สายสำหรับดีดทำมาจากลวด บรรเลงเดี่ยว รวมกันเป็นหมู่ หรือรวมวงกับสะล้อ ขลุ่ยเมือง และปี่ซอ (ปี่จุม)

เครื่องดนตรีไทย ^^

 จัดทำโดย  นาย ธนวีร์  มาลาศรี ม. 4/4 เลขที่ 27



          เครื่องดนตรีไทย คือ เครื่องดนตรี ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามศิลปวัฒนธรรมดนตรีของไทย ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนไทย โดยนิยมแบ่งตามอากัปกิริยา ของการบรรเลง ได้แก่ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า

 


 แนะนำ เครื่องดนตรีไทย 




เครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ

แบ่งตาม ชนิด และ วิธีการเล่น

เครื่องดีด      เครื่องสี        เครื่องตี        เครื่องเป่า  




แบบทดสอบเกี่ยวกับ เครื่องดนตรีไทย